การแปรรูปพืชผลไม้
วันที่ ๒๔ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๑
เรื่องการแปรรูปพืชผลไม้
- การตากแห้ง เป็นวิธีที่สะดวกและมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะการตากแห้งทำได้ง่ายและทำให้สามารถเก็บรักษาพืชสมุนไพรได้นานโดยไม่เสียหรือเสื่อมสภาพ อีกทั้งเป็นการลดนำ้หนัก ปริมาตร และช่วยให้สามารถนำไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นได้ วิธีง่ายๆในการตากแห้ง คือ แขวนพืชสมุนไพรที่ผูกรวมกันเป็นมัดไว้ในห้องที่แห้ง ในกรณีที่เป็นราก ลำต้น ผล ที่มีนำ้ปนอยู่มาก จำเป็นต้องหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ รวมทั้งทำความสะอาดตามสมควร หากต้องการตากแห้งพืชสมุนไพรจำนวนมาก และต้องการทำให้แห้งเร็วขึ้นจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์บางอย่างเข้าช่วย เช่น ตู้อบอุณหภูมิ 35 - 60 ซ.
- การสับให้ขนาดเล็กลง ใช้มีดหั่นหรือสับส่วนที่อุ้มนำ้มากๆ เช่น ราก ลำต้น ผล เปลือก ก่อนหรือหลังการตากแห้งก็ได้
- การบดหรือการป่น เป็นวิธีที่นิยมทำกันมาก เพราะสะดวก ประหยัด และง่ายต่อการนำไปใช้ แพทย์แผนโบราณนิยมใช้ครกหรือกระเดื่องในการป่น พืชสมุนไพรที่ตากแห้งดีแล้ว แต่ในภาคอุตสาหกรรมอาจใช้เครื่องบดที่มีประสิทธิภาพ และสามารถกำหนดขนาดผงที่บดได้
- การสกัดนำ้มันหอมระเหย พืชสมุนไพร ที่มีกลิ่นหอมเนื่องจากมีการสะสมของนำ้มันหอมระเหย ตามส่วนต่างๆ ของพืชและนำ้มันหอมระเหยนั้นๆ มีสรรพคุณทางยา เช่น นำ้มันมินต์มีสารเมนทอล นำ้มันยูคาลิปตัสมีสารซินิออล ยูคาลิปตอล ฯลฯ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสกัดนำ้มันหอมระเหยมีหลายวิธี แต่วิธีที่สะดวกที่สุด ได้แก่ การกลั่นด้วยไอนำ้ หรือการต้มแล้วกลั่นซึ่งเป็นวิธีที่ชาวบ้านรู้จักดี
ที่มา : พรสวรรค์ ดิษยบุตร. สมุนไพรการใช้อย่างถูกวิธี. บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน); หน้า๙-๒๔.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น